ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่กับการเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปมากขึ้น ซึ่งแปลว่าเด็กรุ่นนี้เป็นเด็กที่จะโตมาพร้อมกับการใช้ชีวิตอยู่กับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา
สำหรับพ่อแม่ที่กังวลเรื่องเวลาในการใช้หน้าจอของลูก มีคำแนะนำจากการวิจัยว่าพ่อแม่ควรเลือกเฉพาะเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง โดยเน้นไปที่พัฒนาการของลูก ด้วยการดูและเล่นไปพร้อมกับลูก และจากการทำแบบนี้ พ่อแม่สามารถวางแนวทางที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกทางสื่อดิจิทัล และช่วยกระตุ้นการฝึกจำ ฝึกภาษา และ การพัฒนาทางอารมณ์ และทางสังคมอีกด้วย
[bp_image image_id=”1478″ position=”center”][/bp_image]
อย่างไรก็ตาม แทนที่จะกังวลเรื่องผลกระทบของการควบคุมเวลาหน้าจอ การวิจัยของนักจิตวิทยา แนะนำให้พ่อแม่สอนลูกว่าใช้สื่อเหล่านั้นอย่างไรให้ถูกต้อง มากกว่าสนใจเวลาหรือความถี่ในการใช้ ซึ่งแทนที่จะคิดว่าการใช้หน้าจอเป็นการทำร้ายลูก พ่อแม่ควรตั้งเป้าไปที่การทำให้ลูกโตขึ้นอย่างมีคุณภาพตามสังคมยุคดิจิทัล พ่อแม่ควรวางแบบแผนที่จะช่วยให้ลูกเข้าใจถึงศีลธรรมและแยกแยะสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้ใช้ชีวิตที่เหมาะสมในยุคนี้
ในฐานะผู้ปกครอง คุณควรระวังเรื่องของการใช้หน้าจอของลูกในทางนิสัย และสุขภาพจิตที่ดีของลูก คุณต้องสังเกตผลลัพธ์ในเรื่องการกำหนดเวลาหน้าจอ และการโต้ตอบเวลาที่เราจะเก็บอุปกรณ์ที่ลูกเล่นคืนเมื่อหมดเวลา คุณสังเกตปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกในตอนที่คุณปฏิเสธการขอดูหน้าจอหรือไม่ ลูกของคุณมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ ถ้ามี ก็ถึงเวลาที่คุณจะกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องเวลาการใช้หน้าจอของลูกได้แล้ว เพราะตอนที่ลูกเป็นเด็กเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเรียนรู้เรื่องการจัดการตัวเองกับการใช้หน้าจอมากที่สุด
ถ้าอยากเริ่มควบคุมการใช้หน้าจอของลูก เราขอแนะนำวิธีดังนี้
- กำหนดเวลาสำหรับการใช้หน้าจอ และต้องแน่ใจว่าทุกคนในครอบครัวต้องให้ความร่วมมือกับข้อตกลงด้วย เช่น การไม่ใช้หน้าจอตอนกินข้าว ไม่ใช้สมาร์ทโฟนตอนขับรถ หรือการไม่ใช้หน้าจอก่อนเวลานอนหนึ่งชั่วโมง เป็นต้น
- การกำหนดเวลาหน้าจอนั้น ผู้วิจัยแนะนำว่าควรให้คนในครอบครัวสามารถต่อรองเรื่องเวลาการใช้หน้าจอกันได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะใช้หน้าจอของลูก แทนที่จะห้ามใช้หรือควบคุมเวลาการใช้อย่างตายตัว ควรปล่อยให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเอง ซึ่งการต่อรองนี้อาจจะอยู่ในช่วงเวลาว่างของลูก การทำแบบนี้ ส่งผลถึงการพัฒนาเรื่องความมั่นใจในตัวเอง การแบ่งเวลา หรือการรับรู้และตอบสนองความต้องการของตัวเอง และยังเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกได้อีกด้ว
- สามารถเพิ่มเวลาที่ลูกใช้หน้าจอได้หากพวกเขาใช้งานเกี่ยวกับการเรียนรู้ หรือการศึกษา การที่ลูกชอบดูหน้าจอในเนื้อหาที่ดี แปลว่าเนื้อหาเหล่านั้นส่งผลให้การเรียนของลูกสนุก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราเรียนแบบแอคทีฟ ได้มีส่วนร่วมกับการเรียน และการเรียนนั้นมีความหมายกับเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุไหนก็ตาม ซึ่งเด็ก ๆ จะเรียนภาษาได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อได้เรียนกับสื่อดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีมากมายอยู่ในโลกออนไลน์เต็มไปหมดที่จะทำให้เด็กได้มีส่วนร่วม และการเรียนรู้แบบนี้ย่อมดีกว่าการเรียนรู้แบบนั่งดูเฉย ๆ แน่นอน
[bp_image image_id=”1475″ position=”center”][/bp_image]
เมื่อพูดถึงการที่เด็กต้องเรียนเกี่ยวกับตัวหนังสือหรือตัวเลข และต้องพัฒนาในเรื่องการจำเสียงและตัวหนังสือ แท็บเล็ต หรือมือถือก็เป็นเครื่องมือดี ๆ ที่เรามีอยู่ใกล้ตัว และตัวอย่างของแอปพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กคือกาแลคซี่ คิดส์(Galaxy Kids) แอปนี้ออกแบบมาให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเรียน และทำให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
แอปพลิเคชันนี้คือแบบอย่างของคลาสเรียนที่มีเพื่อน ซึ่งเป็นตัวละครในจินตนาการที่เรียนด้วยกันอย่างสนุกสนาน และได้เรียนรู้ตามหลักสูตรนานาชาติที่ออกแบบโดยครูสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ลูกของคุณได้ฝึกภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยเนื้อหาที่เด็ก ๆ จะได้เรียนในแอปพลิเคชันนี้นั้น มีทั้งการฝึกพูดโต้ตอบกับ AI Chat Buddies ที่เป็นเหมือนเพื่อนคุยของเด็ก ๆ และยังมีเพลงเด็กให้ได้ฝึกร้องตาม เป็นการได้ฝึกความจำไปพร้อม ๆ กับการฝึกภาษาอีกด้วย