[bp_title][/bp_title]

    [bp_date format=”F j, Y”][/bp_date]

    เมื่อถึงคราวที่ต้องสอนให้ลูกอ่านภาษาอังกฤษออก พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะพาลูกเรียนรู้จักชื่อตัวอักษรก่อนด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บล็อกตัวอักษร หนังสือ ภาพประกอบ เป็นต้น ในขณะที่เรามีความตั้งใจดี พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจทำให้ลูกได้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็นสำหรับการปูพื้นฐานการอ่าน นี่เป็นเพราะว่าพวกเขาสอนชื่อของตัวอักษรก่อน เช่น A – เอ, B – บี, C – ซี หรือแม้แต่โรงเรียนในหลายแห่งก็ยังมีการสอนเด็ก ๆ ให้จำตัวอักษรและชื่อเรียกคำศัพท์เพื่อคู่กับตัวอักษรนั้น ยกตัวอย่างเช่น A- เอแอ๊นท์(Ant) มด B- บีเบิร์ด (Bird) นก C- ซีแคทแมว เป็นต้น เด็กไทยได้เรียนรู้แบบท่องจำชื่อตัวอักษรและคำศัพท์คู่กันมาเป็นชุด พวกเขาอาจจะทราบว่าความหมายของคำศัพท์บางส่วนนั้นคืออะไรก็จริง แต่กลับไม่สามารถอ่านออก หรือสื่อสารได้ บางคนจบมหาวิทยาลัยแล้วยังไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษออกได้ถูกต้องเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น การเรียนรู้ชื่อตัวอักษรก่อนทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะอ่านออกเขียนได้น้อยมาก 

    [bp_image image_id=”1607″ position=”center”][/bp_image]

    ภาพจาก https://athome.readinghorizons.com/reading-academy/phonemic-awareness

    จากภาพพีระมิด แสดงให้เห็นว่าการที่เราจะอ่านออกในระดับที่ตีความหมายและเข้าใจได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 5 กระบวนการเสียก่อน ซึ่งเริ่มจาก phonemic awareness คือการรับรู้เสียงอักษรและต่อไปขั้นที่สอง นั่นคือ phonics/decoding ขั้นตอนนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้เราสามารถสะกดคำได้และเกิดความมั่นใจจนไปต่อขั้น fluency ตามด้วย vocabulary ที่เกิดการสะสมคลังคำศัพท์และเลือกสรรไปใช้ และท้ายที่สุดคือ comprehension คือการเกิดความเข้าใจในการสื่อสาร  การเรียนรู้แบบที่คนไทยจำนวนมากได้มาก็คือ ท่องจำเป็นชุด A- แอ๊นท์(Ant) มด B- เบิร์ด (นก) เป็นต้น ซึ่งเด็กจะจำได้ว่าความหมายคืออะไรก็จริงแต่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้หากต้องถอดรหัสเพื่อสะกดคำและอ่านคำที่ไม่คุ้นเคย วิธีการนี้เสมือนลัดขั้นไปที่ fluency แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยว่าทำไม ผลการใช้ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

    จากคอลัมน์ คนเดินตรอก โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ระบุไว้ว่าเมื่อมีการวัดผลความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ฟัง พูด อ่านและเขียน เทียบกับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่จำนวน 80 ประเทศ อันดับของประเทศไทยรั้งท้ายอยู่ที่ 53 คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ช่วยให้ไปถึงระดับความสามารถในการสื่อสาร  เป็นไปได้ไหมว่าที่เราได้เรียนรู้กันมาแบบผิด ๆ

    Phonics คืออะไร?

    มีงานวิจัยระบุว่าการสอน phonics นั้นสำคัญมากกว่าการที่เด็กจะรู้จักว่าตัวอักษรชื่ออะไร ในเวลาเดียวกัน มันก็สำคัญด้วยเช่นกันที่เด็กจะเรียนรู้ชื่อตัวอักษรไปพร้อม ๆ กันกับเรียนรู้เรื่อง phonics และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่รับรองว่าระบบการเรียนการสอนด้วย phonics นั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะสอนให้เด็กเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ ถ้าไม่ใช่ด้วยวิธีนี้ เด็กบางคนจะจบลงด้วยการมีความบกพร่องทางด้านการอ่านอย่างร้ายแรง แต่ระบบการเรียนการสอนแบบ phonics คืออะไรกันแน่?

    Phonics เป็นการสอนเด็กให้รู้จักเสียงของแต่ละตัวอักษรหรือกลุ่มตัวอักษร เช่น ตัว “c” จะออกเสียง k”  และการสอนเด็กที่จะแยกเสียงตัวอักษรเพื่อผสมคำ เช่น เสียง k, a, t  สร้างเป็นคำว่า CAT  ซึ่งการสอนแบบนี้อ้างอิงมาจาก “synthetic phonics” สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของชาติเจ้าของภาษานั้น Synthetic Phonics คือเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนเรื่องเสียงของพยัญชนะและสระตลอดจน การออกเสียงอย่างถูกต้อง และ การสะกดคำอย่างมีประสิทธิภาพที่กระทรวงศึกษาธิการแห่งสหราชอาณาจักรได้ระบุให้เป็นเครื่องมือหลักในหลักสูตรแกนกลางแห่งชาติ (Department of Education, 2013) ในระดับชั้นเด็กเล็กสำหรับโรงเรียนของระบบอังกฤษทั่วโลก

    ทำไมการสอน phonics สำคัญ?

    เนื่องจากภาษาอังกฤษนั้นมีระบบการสะกดคำที่ค่อนข้างซับซ้อน ฉะนั้นการสอนเด็กให้รู้จักภาพใหญ่ของหน่วยเสียงตัวอักษรอย่างเป็นระบบจะช่วยให้เด็กนั้นสามารถผสมคำที่ซับซ้อนได้ การสอน phonics ทำให้เด็ก ๆ สามารถ “decode” หรือ ถอดรหัสตัวอักษรสู่ระบบเสียงของแต่ละตัวอักษรได้ ซึ่งทักษะนี้จำเป็นอย่างยิ่งในการที่พวกเขาจะสามารถอ่านออกแม้เป็นคำที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

    การสอน phonics จึงเปรียบเสมือนกระดุมเม็ดแรกที่หากครูหรือผู้ปกครองติดให้เด็กผิดแล้ว การแก้ไขในตอนที่พวกเขาโตขึ้นก็จะยากขึ้นไปอีกมาก เริ่มสอน phonics ลูกตั้งแต่วันนี้ งานวิจัยยืนยันว่าการเรียนภาษาใหม่ตั้งแต่อายุ 3-8 ปี เป็นช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพที่สุด ถ้ายังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นจากที่ไหน ลองดูที่ Galaxy Kids หนึ่งในผู้ผลิตสื่อการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กที่มีประสิทธิภาพ มีแอปพลิเคชันที่เด็กๆและผู้ปกครองสามารถสนุกไปพร้อมกับการฝึกภาษากับเจ้าของภาษา เกม และได้ฝึกพูดโต้ตอบกับตัวการ์ตูนได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    Related Posts

    AI Chat Buddies มิติใหม่ที่สร้างโอกาสในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ

    ในฐานะที่เรามีทีมงานนักวิชาการ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของ Galaxy Kids รวมถึงมีครูของสถาบันผู้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ELLs มามากกว่า 10 ปี ที่ปรึกษาของเราเคยถูกถามบ่อยมาก กับคำถาม “ฉันจะพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษได้อย่างไร”
    SiteLock